ตามมาตรา 641 ของกฎหมายปฏิรูปการเข้าเมืองโดยมิชอบ และความรับผิดชอบบุคคลเข้าเมือง ( The Illegal Immigration Reform and Immigrant Responsibility Act (IIRIRA) ปี ค.ศ. 1996 กฎหมายมหาชน 104-208 ฉบับแก้ไข กำหนดให้กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิต้อง รวบรวมข้อมูลอันเกี่ยวข้องกับนักศึกษาชาวต่างชาติ (วีซ่า F และ M) ซึ่งเป็นปัจจุบันอยู่เรื่อยๆจากสถานศึกษาที่ได้รับการรับรองจากกระทรวง ความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ และองค์กรแลกเปลี่ยนผู้สนุบสนุนซึ่งได้รับการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศตลอดระยะเวลาที่นักศึกษาเหล่านั้นพำนักอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา
เอกสาร DS-2019 ซึ่งเป็นเอกสารที่ต้องใช้ยื่นขอวีซ่าประเภท J จะต้องออกให้โดยองค์กรแลกเปลี่ยนผู้สนับสนุนที่ได้รับอนุญาตให้เข้า ระบบ SEVIS ได้ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาเป็นผู้กาหนด
ค่าธรรมเนียม SEVIS I-901 คืออะไร
ค่าธรรมเนียม SEVIS I-901 เป็นค่าธรรมเนียมที่ผู้ยื่นสมัครขอวีซ่าประเภท F-1 M-1 และ J-1 ต้องชำระให้กับทางกระทรวงความมั่นคง แห่งมาตุภูมิของสหรัฐอเมริกาเพื่อเป็นค่าบำรุงรักษาระบบ SEVIS สาหรับค่าธรรมเนียม SEVIS I-901 ของโครงการ Summer Work and Travel USA นั้นคือ 35 เหรียญสหรัฐฯ โดยค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะต้องชำระก่อนที่จะสัมภาษณ์วีซ่า ตามกฎหมายของรัฐบาลกลางอันเกี่ยวข้องกับระบบ SEVIS กำหนดไว้ว่าผู้เข้าร่วมโครงการฯ จะต้องแสดงหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียม SEVIS I-901 ก่อนที่จะได้รับวีซ่าหรือได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศ
ใบเสร็จชำระค่าธรรมเนียม SEVIS I-901 ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่บันทึกไว้ในระบบ SEVIS และระบบชำระเงินค่าธรรมเนียม SEVIS I-901 จะใช้เป็นหลักฐานแสดงการชำระเงินค่าธรรมเนียม ส่วนมากแล้วเจ้าหน้าที่กงสุลสามารถตรวจสอบการชำระเงินได้จากระบบ อิเล็กทรอนิกส์ แต่อย่างไรก็ตาม นักศึกษาควรจะเก็บสำเนาใบเสร็จไว้ด้วยเพราะจะทำให้ตรวจสอบการชำระเงินได้ง่ายขึ้น อีกทั้งใบเสร็จค่า ธรรมเนียมยังเป็นประโยชน์อย่างมากเมื่อต้องสัมภาษณ์ขอวีซ่าหากนักศึกษามาจากประเทศที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอวีซ่า หรือเมื่อนักศึกษา ยื่นเรื่องสมัครขอสถานะวีซ่า F-1 F-3 M-1 M-3 และ J-1 ที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง (Port of Entry) นอกจากนี้ใบเสร็จค่าธรรมเนียมยังใช้เป็นหลัก ประกันด้วยว่าข้อมูลการชำระเงินของนักศึกษานั้นผ่านการดำเนินการอย่างครบถ้วนและได้รับการบันทึกลงในระบบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
นักศึกษาควรสอบถามองค์กรแลกเปลี่ยนผู้สนับสนุนที่นักศึกษาสมัครเข้าร่วมโครงการฯด้วยเกี่ยวกับขั้นตอนในการชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าว ในบางกรณีทางองค์กรแลกเปลี่ยนจะเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมให้ล่วงหน้า แต่ในบางกรณีทางองค์กรก็จะให้ผู้เข้าร่วมโครงการชำระค่าธรรมเนียมด้วยตนเอง
สถานะในการเข้าร่วมโครงการฯจะเริ่มมีผลเมื่อใด
เมื่อชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนต่างๆแล้ว จะต้องรายงานตัวต่อองค์กรแลกเปลี่ยน ผู้สนับสนุนที่ได้ออกเอกสาร DS-2019 ซึ่งต้องใช้ยื่นขอวีซ่า J-1 เพื่อที่เจ้าหน้าที่ขององค์กรแลกเปลี่ยนจะได้บันทึกข้อมูลการเดินทางเข้าประเทศ ของผู้เข้าร่วมโครงการลงในระบบ SEVIS ปรับสถานภาพการเข้าร่วมโครงการให้เริ่มมีผล เมื่อเสร็จขั้นตอนนี้แล้ว ข้อมูลที่บันทึกไว้ในระบบ SEVIS ของผู้เข้าร่วมโครงการจะเปลี่ยนจากสถานะแรกเริ่ม (รอเดินทางเข้าประเทศ) เป็น กำลังเข้าร่วมโครงการ (เดินทางเข้าประเทศและรายงานตัวต่อ องค์กรแลกเปลี่ยนแล้ว) หากผู้เข้าร่วมโครงการไม่รายงานตัวต่อองค์กรแลกเปลี่ยนเมื่อเดินทางถึงประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว จะมีผลให้สถานะ ของวีซ่าที่ใช้เข้าร่วมโครงการถูกยกเลิกได้
best cartier replica watches
ผู้เข้าร่วมโครงการฯจะสามารถเปลี่ยนที่พักได้หรือไม่
ต้องตรวจสอบข้อมูลกับองค์กรแลกเปลี่ยนก่อนที่จะสมัครเข้าร่วมโครงการฯ การเปลี่ยนที่พักในระหว่างที่เข้าร่วมโครงการฯจะได้รับ อนุญาตหรือไม่ขึ้นอยู่กับเนื้อหาในสัญญาหรือข้อตกลงที่ได้ทำไว้กับองค์กรแลกเปลี่ยนผู้สนับสนุนหรือนายจ้างที่นักศึกษาจะไปทางานด้วย เงื่อนไขการจ้างงานของบางนายจ้างอาจมีที่พักไว้ให้แล้วเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงในการจ้างงาน ในกรณีนี้ นักศึกษาจะไม่สามารถหาที่พักอื่นได้ แต่หากมิได้ระบุว่ามีเรื่องที่พักเป็นส่วนหนึ่งในสัญญา นักศึกษาก็สามารถหาที่พักเองได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นนักศึกษาจะต้องแจ้งให้ทางองค์กรแลกเปลี่ยนทราบที่อยู่ที่นักศึกษาไปอาศัยอยู่เสมอ ตามกฎแล้วนักศึกษาจะต้องแจ้งไปยังองค์กรแลกเปลี่ยนทุกครั้งภายใน 10 วันหลังจากย้ายที่อยู่
สามารถเปลี่ยนสถานที่ทำงานได้หรือไม่ในระหว่างเข้าร่วมโครงการฯ
ต้องตรวจสอบข้อมูลกับองค์กรแลกเปลี่ยนก่อนที่จะสมัครเข้าร่วมโครงการฯ การเปลี่ยนนายจ้างในระหว่างที่เข้าร่วมโครงการฯจะได้รับ อนุญาตหรือไม่ขึ้นอยู่กับเนื้อหาในสัญญาหรือข้อตกลงที่ได้ทาไว้กับองค์กรแลกเปลี่ยนผู้สนับสนุนหรือนายจ้างที่นักศึกษาจะไปทางานด้วย นายจ้างบางแห่งจะระบุไว้ในเงื่อนไขก่อนจ้างงานว่าไม่อนุญาตให้เปลี่ยนที่ทำงานได้ หากนักศึกษาเปลี่ยนที่ทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากทางองค์กรแลกเปลี่ยนจะทำให้สถานภาพการเข้าร่วมโครงการฯสิ้นสุดลง และมีผลทำให้นักศึกษาต้องเดินทางออกจากประเทศสหรัฐอเมริกาในทันที หากนักศึกษาไม่ปฏิบัติตามกฎของโครงการฯจะก่อให้เกิดปัญหาในการท่องเที่ยว ศึกษา หรือเข้ามาทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ในอนาคต
สามารถทำงานมากกว่า 1 งานได้หรือไม่ในขณะเข้าร่วมโครงการ Summer Work and Travel USA
ตามกฎระเบียบในการเข้าร่วมโครงการฯไม่มีข้อใดระบุห้ามมิให้ทำงานมากกว่า 1 งาน อย่างไรก็ตามนักศึกษาควรตรวจสอบกับทาง องค์กรแลกเปลี่ยนก่อนที่จะทำงานที่สอง
หากมีข้อสงสัย หรือต้องการข้อมูลเกี่ยวกับโครงการแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมจะต้องติดต่อที่ใด
หากนักศึกษามีข้อสงสัยใดๆก็สามารถติดต่อองค์กรแลกเปลี่ยนที่นักศึกษาเข้าร่วมโครงการ Summer Work and Travel USA โดยองค์กรเหล่านี้จะมีหน้าที่รับผิดชอบให้ความช่วยเหลือตามความเหมาะสมตลอดระยะเวลาที่นักศึกษาเข้าร่วมโครงการฯอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา
ผู้เข้าร่วมโครงการจะสามารถทำงานเลยวันสิ้นสุดโครงการฯได้หรือไม่ ในกรณีที่เดินทางเข้าประเทศสหรัฐอเมริกาช้ากว่าวันเริ่มต้นที่ ระบุไว้ในเอกสาร DS-2019
หากนักศึกษาจะต้องเดินทางเข้าประเทศสหรัฐอเมริกาช้ากว่าวันเริ่มต้นโครงการฯตามที่ระบุไว้ในเอกสาร DS-2019 องค์กรแลกเปลี่ยน อาจจะต้องแก้ไขวันเริ่มต้นและสิ้นสุดโครงการฯของนักศึกษาก่อนที่ข้อมูลซึ่งบันทึกไว้ในระบบ SEVIS ของนักศึกษาจะเริ่มมีผลบังคับใช้
หมายเหตุ: นักศึกษาควรระลึกอยู่เสมอว่าระยะเวลาในการเข้าร่วมโครงการฯจะต้องอยู่ภายในช่วงเวลาปิดภาคเรียนช่วงฤดูร้อน และไม่เกินวันเปิดเรียนภาคการศึกษาถัดไปของมหาวิทยาลัยที่นักศึกษาเรียนอยู่
ระยะผ่อนผัน 30 วันคืออะไร
กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (DHS) อนุญาตให้ผู้เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนที่ถือวีซ่าประเภท J-1 สามารถอยู่ท่องเที่ยวต่อใน ประเทศสหรัฐอเมริกาได้อีก 30 วันหลังจากที่เสร็จสิ้นการเข้าร่วมโครงการแล้ว โดยระยะเวลาดังกล่าวจะไม่ได้ระบุไว้ในเอกสาร DS-2019 ระยะผ่อนผันนี้จะช่วยให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ และเพื่อเตรียมตัวเดินทางออกจากประเทศ สหรัฐอเมริกาเท่านั้น สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการที่เดินทางออกนอกประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงระยะผ่อนผันนี้ทางกระทรวงความมั่นคงแห่ง มาตุภูมิจะไม่อนุญาตให้เดินทางกลับเข้ามาในประเทศสหรัฐอเมริกาอีก เนื่องจากสถานภาพของวีซ่า J-1 ได้สิ้นสุดลงแล้ว นอกจากนี้นักศึกษายังไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในช่วงระยะเวลาดังกล่าวอีกด้วย
นักศึกษาที่เรียนเก็บหน่วยกิตครบตามหลักสูตร แต่ยังไม่ได้ทำเรื่องจบการศึกษาจะสามารถเข้าร่วมโครงการฯได้หรือไม่
นักศึกษาที่เรียนครบตามหลักสูตรแล้วแต่ยังไม่ได้ทำเรื่องจบอย่างเป็นทางการไม่สามารถที่จะเข้าร่วมโครงการฯได้ เว้นแต่จะสามารถ แสดงหลักฐานว่าได้ลงทะเบียนเรียนหลักสูตรปริญญาบัตรอื่นๆหรือสามารถแสดงได้ว่าจะกลับมามีสถานภาพเป็นนักศึกษาอย่างแท้จริงอีกครั้งกับทางสถานศึกษาที่ตนสังกัดอยู่
นักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาสามารถเข้าร่วมโครงการฯได้หรือไม่
นักศึกษาจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาจะไม่สามารถเข้าร่วมโครงการ Summer Work and Travel USA ได้ เว้นแต่จะสามารถแสดงให้เห็นว่าหลักสูตรที่ศึกษานั้นจะสามารถไปศึกษาต่อจนได้รับปริญญาจากสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการรับรองได้
ช่วงเวลาใดที่จะสามารถเข้าร่วมโครงการฯได้
นักศึกษาภาคปกติชาวต่างชาติจะสามารถเข้าร่วมโครงการฯในช่วงเวลาปิดภาคเรียนฤดูร้อนของตนเองเท่านั้น การเข้าร่วมโครงการฯ นอกระยะเวลาปิดภาคเรียนปกติตามปฏิทินการศึกษาของประเทศตนเองนั้นเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม
องค์กรแลกเปลี่ยนผู้สนับสนุนมีวิธีคัดกรองและคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการฯอย่างไร
องค์กรแลกเปลี่ยนทั้งหลายถูกกำหนดให้ต้องจัดสัมภาษณ์รายบุคคล และตรวจสอบว่าโครงการแลกเปลี่ยนนั้นๆเหมาะสมกับประวัติ ความต้องการ รวมไปถึงประสบการณ์ของผู้สมัคร นอกจากนี้องค์กรแลกเปลี่ยนยังจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้สมัครเข้าร่วมโครงการฯมี คุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
ผู้เข้าร่วมโครงการฯจะต้องมีสถานภาพเป็นนักศึกษาเต็มเวลาภาคปกติที่กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการรับรอง นักศึกษาจบการศึกษาแล้วไม่ถือว่ามีสถานภาพเป็นนักศึกษาและไม่สามารถเข้าร่วมโครงการฯได้
ผู้ที่กำลังจะเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนจะต้องมีความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษที่เพียงพอต่อการเข้าร่วมโครงการที่ตนเองเลือก
นักศึกษาที่สนใจสามารถเข้าร่วมโครงการ Summer Work and Travel USA ได้มากกว่า 1 ครั้ง เนื่องจากไม่มีกฎข้อใดระบุห้ามไว้
ผู้เข้าร่วมโครงการฯจำเป็นจะต้องมีประกันสุขภาพหรือไม่
จำเป็น อันที่จริงผู้เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนทุกประเภทจะต้องมีประกันสุขภาพ องค์กรแลกเปลี่ยนต้องกำหนดให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีประกันให้ความคุ้มครองทั้งการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุตลอดระยะเวลาเข้าร่วมโครงการฯ (ระยะเวลาเข้าร่วมโครงการฯระบุไว้ในเอกสาร DS-2019) ประกันควรจะมีความคุ้มครองขั้นต่ำ ดังต่อไปนี้
1. เงินชดเชยประกันสุขภาพเป็นจำนวนอย่างต่า 50,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุแต่ละครั้ง
2. ค่าส่งศพกลับประเทศเป็นจำนวน 7,500 เหรียญสหรัฐฯ
3. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายทางการแพทย์กลับประเทศของผู้เข้าร่วมโครงการฯเป็นจำนวน 10,000 เหรียญสหรัฐฯ
4. จำนวนเงินที่ผู้ประกันตนต้องรับผิดชอบเบื้องต้นก่อนการคุ้มครอง (deductible) ไม่เกิน 500 เหรียญสหรัฐฯ ต่ออุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วยหนึ่งครั้ง
กรมธรรม์ แผนประกันหรือสัญญาประกันซึ่งได้ทาไว้เพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับดังกล่าวข้างต้นจะต้องตรงกับมาตรฐานต่างๆที่กำหนดไว้ในกฎระเบียบของโครงการแลกเปลี่ยน
ผู้เข้าร่วมโครงการฯซึ่งจงใจที่จะไม่มีประกันคุ้มครองตามที่ได้กาหนดไว้ในกฎระเบียบของโครงการแลกเปลี่ยนในขณะที่เข้าร่วมโครงการฯ หรือจงใจแสดงหลักฐานกรมธรรม์อันเป็นเท็จแก่องค์กรแลกเปลี่ยน ถือว่าเป็นการละเมิดกฎและมีโทษให้ปลดออกจากการเข้าร่วมโครงการฯ องค์กรแลกเปลี่ยนจะต้องยกเลิกสถานะการเข้าร่วมโครงการฯหากพบว่าผู้เข้าร่วมโครงการฯและ/หรือผู้ติดตามผู้เข้าร่วมโครงการฯไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบว่าด้วยเรื่องประกัน
องค์กรแลกเปลี่ยนผู้สนับสนุนต้องจัดปฐมนิเทศก่อนการเดินทางและเอกสารแนะนาต่างๆให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการฯหรือไม่
องค์กรแลกเปลี่ยนถูกกาหนดให้ต้องจัดหาข้อมูลก่อนการเดินทางและจัดปฐมนิเทศให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ Summer Work and Travel USA ทุกคน ข้อบัญญัติเกี่ยวกับโครงการแลกเปลี่ยนประกาศเมื่อวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 1999 ได้จำแนกการเข้าร่วมโครงการฯออกเป็น 2 ลักษณะคือ ผู้เข้าร่วมโครงการฯได้รับการจ้างงานแล้วก่อนที่จะเดินทางเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา และผู้เข้าร่วมโครงการฯเดินทางเข้าประเทศสหรัฐ อเมริกาโดยที่ยังไม่มีงาน เอกสารข้อมูลก่อนออกเดินทางที่สาคัญของผู้เข้าร่วมโครงการฯทั้ง 2 ลักษณะจะกล่าวในลำดับถัดไป luxurystrap.com
ผู้เข้าร่วมโครงการฯควรรู้ข้อมูลอะไรบ้างก่อนเดินทางไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา (ข้อมูลก่อนการเดินทาง)
ผู้เข้าร่วมโครงการฯที่มีนายจ้างแล้วทุกคนจะต้องได้รับข้อมูลอันจาเป็นก่อนที่จะเดินทางไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แก่
1. ชื่อและที่อยู่ของนายจ้าง
2. ระเบียบข้อบังคับต่างๆในสัญญาอันเกี่ยวเนื่องด้วยการตกลงยอมรับการจ้างงานในประเทศสหรัฐอเมริกา (ข้อมูลดังกล่าวควรประกอบด้วย วันเริ่มต้นและสิ้นสุดการทางาน จำนวนชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ อัตราค่าจ้างและข้อกาหนดการจ้างงานล่วงเวลา อัตราค่าจ้างรายชั่วโมง จำนวนชั่วโมงการทางาน นายจ้างมีที่พักให้หรือไม่ ถ้ามีราคาเท่าไหร่ เป็นต้น)
สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการฯที่ยังไม่มีนายจ้างก่อนที่จะเดินทางไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ควรได้รับข้อมูลดังต่อไปนี้ ข้อที่ 1 และ2 จะต้องแจ้งให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯทราบก่อนเดินทาง ส่วนข้อ 3 สามารถแจ้งให้ทราบเมื่อเดินทางไปถึงประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว ( นั่นคือ ตอนปฐมนิเทศ)
1. จะหางานอย่างไรในประเทศสหรัฐอเมริกา
2. จะหาที่พักอย่างไรในประเทศสหรัฐอเมริกา
3. รายชื่องานที่มีจำนวนเท่ากับหรือมากกว่าจานวนผู้เข้าร่วมโครงการฯที่ยังไม่มีนายจ้างซึ่งองค์กรแลกเปลี่ยนได้อำนวยความสะดวกให้เข้าประเทศสหรัฐอเมริกาไปแล้ว
นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมโครงการฯไม่ว่าจะมีนายจ้างแล้วหรือไม่ จะต้องได้รับทราบข้อมูลดังต่อไปนี้เหมือนกันก่อนที่จะออกเดินทาง
1. จุดประสงค์ในการเข้าร่วมโครงการฯ
2. ข้อกำหนดเรื่องระยะเวลาที่ต้องมีตัวตนอยู่ในประเทศบ้านเกิด
3. การเดินทางและการเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา
4. รายละเอียดเกี่ยวกับที่พัก
5. ค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระแก่องค์กรแลกเปลี่ยน
6. ค่าใช้จ่ายอื่นๆขณะที่เข้าร่วมโครงการฯในประเทศสหรัฐอเมริกา (เช่น ค่าครองชีพ)
7. การดูแลสุขภาพและประกัน
8. ข้อมูลอื่นๆอันเป็นประโยชน์ที่จะช่วยให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯได้เตรียมตัวสำหรับการไปอยู่อาศัยในประเทศสหรัฐอเมริกา
การปฐมนิเทศก่อนการเดินทางมีเนื้อหาอะไรบ้าง
กฎระเบียบของโครงการแลกเปลี่ยนกำหนดไว้ว่าองค์กรแลกเปลี่ยนผู้สนับสนุนจะต้องจัดการปฐมนิเทศอย่างเหมาะสมให้แก่ผู้เข้าร่วม โครงการฯทุกคน โดยการปฐมนิเทศควรมีเนื้อหาดังต่อไปนี้
1. วิถีชีวิตในประเทศสหรัฐอเมริกา
2. ข้อมูลต่างๆในท้องที่ ( เช่น ขนส่งมวลชน สถานีอนามัย โรงเรียน ห้องสมุด ศูนย์นันทนาการ หรือธนาคาร เป็นต้น)
3. การดูแลเรื่องสุขภาพ การให้ความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน และความคุ้มครองของประกันที่มีให้
4. รายละเอียดของโครงการแลกเปลี่ยนที่นักศึกษาเข้าร่วม
5. กฎระเบียบต่างๆที่ผู้เข้าร่วมโครงการฯต้องปฏิบัติตาม
6. ที่อยู่ขององค์กรแลกเปลี่ยนตลอดจน ชื่อและเบอร์โทรศัพท์ของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ
7. ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ของสานักงานการศึกษาและวัฒนธรรม (Office of Exchange Coordination and Designation)
8. แผ่นพับหรือเอกสารซึ่งแสดงรายละเอียดของกฎระเบียบต่างๆของโครงการแลกเปลี่ยนอันเกี่ยวข้องกับผู้เข้าร่วมโครงการ
จำเป็นหรือไม่ที่ผู้เข้าร่วมโครงการ Summer Work and Travel USA ทุกคนจะต้องได้รับการจ้างงานก่อนเดินทางเข้าประเทศ สหรัฐอเมริกา
ไม่จำเป็น – นักศึกษาที่เดินทางเข้าไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาโดยที่ยังไม่มีนายจ้างจะต้องมีเงินเพียงพอที่จะเป็นค่าใช้จ่ายในระหว่าง ที่กำลังหางานองค์กรแลกเปลี่ยนผู้สนับสนุนมีหน้าที่รับผิดชอบต้องให้ความช่วยเหลือตามสมควรที่จะหางานให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการฯที่ไม่สามารถหางานด้วยตนเองได้ภายใน 1 สัปดาห์หลังจากที่เริ่มหางาน ผู้เข้าร่วมโครงการฯควรแจ้งให้องค์กรแลกเปลี่ยนทราบหากไม่สามารถหางานได้ ภายใน 1 สัปดาห์หลังจากที่เดินทางเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา
มีข้อกาหนดเกี่ยวกับประเภทของงานที่ผู้เข้าร่วมโครงการ Summer Work and Travel USA จะต้องปฏิบัติหรือไม่
มี ผู้เข้าร่วมโครงการฯไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานเป็นคนงานหรือคนรับใช้ตามบ้านในประเทศสหรัฐอเมริกา (พี่เลี้ยงเด็ก คนขับรถ คนสวน ฯลฯ) ในตำแหน่งงานที่ผู้เข้าร่วมโครงการฯจะต้องเสียเงินลงทุนเพื่อไปเป็นพนักงานขายสินค้าตามบ้านหรืองานประเภทอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการ ดูแลผู้ป่วย
ผู้เข้าร่วมโครงการฯจะได้รับค่าจ้างอย่างไร
ผู้เข้าร่วมโครงการ Summer Work and Travel USA จะได้รับค่าจ้างและสวัสดิการอื่นๆเช่นเดียวกันกับที่คนอเมริกันที่ทางานในตาแหน่ง เดียวกัน หรือคล้ายกันพึงจะได้รับ องค์กรแลกเปลี่ยนควรจะต้องแจ้งรายละเอียดข้อกำหนดต่างๆในเรื่องค่าจ้างขั้นต่าของรัฐบาลกลางสหรัฐฯให้ ทราบก่อนที่จะรับผู้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ
ผู้เข้าร่วมโครงการฯจะได้รับการติดตามดูแลและเฝ้าสังเกตหรือไม่
ผู้เข้าร่วมโครงการฯจะได้รับการดูแลและเฝ้าติดตามองค์กรแลกเปลี่ยนผู้สนับสนุนจะต้องมั่นใจว่ากิจกรรมต่างๆที่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ เข้าไปเกี่ยวข้องนั้นตรงกับประเภทและลักษณะกิจกรรมของโครงการที่ได้ระบุไว้ในเอกสาร DS-2019 องค์กรแลกเปลี่ยนยังต้องคอยดูแลติดตาม ความคืบหน้าและสวัสดิภาพของผู้เข้าร่วมโครงการฯ พร้อมกับคอยปรับข้อมูลที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ให้เป็นปัจจุบันเสมอ
นอกจากนี้ทางองค์กรแลกเปลี่ยนยังจำเป็นที่จะต้องให้เบอร์โทรศัพท์ที่ผู้เข้าร่วมโครงการฯจะสามารถติดต่อมาที่องค์กรหรือเจ้าหน้าที่ได้ ทันทีตลอด 24 ชั่วโมง และยังต้องให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมแก่ผู้เข้าร่วมโครงการฯตามเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้นในแต่ละกรณี
องค์กรแลกเปลี่ยนผู้สนับสนุนจะสามารถว่าจ้างผู้อื่นให้ดาเนินโครงการฯแทนได้หรือไม่
องค์กรแลกเปลี่ยนผู้สนับสนุนอาจจะว่าจ้างผู้อื่นจัดปฐมนิเทศ จัดหาที่พักในอเมริกา จัดหางาน และ/หรือให้บริการช่วยเหลืออื่นๆ แก่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ อย่างไรก็ตามองค์กรแลกเปลี่ยนเองจะต้องคอยกากับดูแลการดำเนินการต่างๆของผู้ที่ตนว่าจ้างอย่างใกล้ชิด และยังมี หน้าที่รับผิดชอบให้ผู้ดำเนินโครงการฯดังกล่าวต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆของโครงการฯที่กำหนดโดยกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวคือ องค์กรแลกเปลี่ยนจำเป็นต้องมีการดำเนินการตามขั้นตอนอันน่าเชื่อถือเพื่อรับประกันว่าผู้ที่ตนว่าจ้างนั้นรับทราบและปฏิบัติตามกฎของโครงการ แลกเปลี่ยนอยู่ตลอด นอกจากนี้องค์กรแลกเปลี่ยนอาจจะมีความผิดจากการละเมิดกฎใดๆที่เกิดจากการกระทำของบุคคลซึ่งตนว่าจ้างอีกด้วย