Home
หน้าแรก
About Us
เกี่ยวกับเรา
News & Activities
ข่าวสารและกิจกรรม
Promotions
โปรโมชั่น
Scholarship
ทุนการศึกษา
How to pay
วิธีการชำระเงิน
Contact Us
ติดต่อเรา
 
  Work and Travel
  Training & Internship
  Au Pair
  Work and Study
  High School
  Student Exchange
  Study Abroad
  English Course
  CampTour
  Tour
  ทุนไปแลกเปลี่ยนอเมริกา
   แบบทดสอบก่อนไป
Work & Travel
เด็กดี.คอม
ไปทัวร์ล่องเรือสำราญ กับ Worantex
จองตัวเครืองบินนักเรียน-นักศึกษา
Announcement
ทุนนักเรียนแลกเปลี่ยนอเมริกา/แคนาดา AYP รุ่นที่ 14 ปี 2025 - 2026 เปิดรับสมัครแล้ว วันนี้ กำหนดสอบ วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม 2024 ที่สำนักงานโครงการ หรือสอบออนไลน์
Hot Topic
ประเด็นร้อน
Experience
ประสบการณ์ใหม่
Partner
พันธมิตรของเรา
Gallery
อัลบั้มภาพ
FAQ
คำถามพบบ่อย
Links
ลิ้งค์เกี่ยวข้อง
Announcement
ประกาศ
About VISA & Country
เกี่ยวกับวีซ่าและประเทศ
สมัคร ออนไลน์
เข้าร่วมโครงการ
และสอบชิงทุน
คลิกที่นี่คะ
 !!! 
Member Sign In
Member Sign Up
Forgot Password
     
About USA
 About USA


                ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศหนึ่งที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล  ประกอบไปด้วยรัฐต่างๆ 50 รัฐ  และ 1  เขตการปกครองคือ Washington D.C. ประเทศสหรัฐอเมริกามีเนื้อที่โดยรวมประมาณ 3,787,319 ตารางไมล์ หรือประมาณ 18 เท่าของขนาดพื้นที่ประเทศไทย  และมีประชากรโดยรวมประมาณ 301,139,947 ล้านคน (ประมาณการ กรกฎาคม 2007)

 
ภูมิประเทศ

                ประเทศสหรัฐอเมริกา  นับเป็นประเทศที่มีความหลากหลายในเรื่องของภูมิประเทศคือ  มีทั้งป่าดง  ทะเลทราย  ภูเขา  ที่ราบสูงและที่ลุ่ม  จุดต่ำสุดคือ Death Valley ระดับ-86 เมตร  จุดสูงที่สุด  คือ  ภูเขา Mc Kinley ระดับ 6,194 เมตร  ประเทศสหรัฐอเมริกามีผืนแผ่นดินใหญ่ซึ่งเป็นพื้นที่ของรัฐที่ติดต่อกันรวม  48  รัฐ  และ  Washington D.C. โดยมีรัฐ  Alaska  ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศแคนาดา  และรัฐ Hawaii  ซึ่งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิค  ห่างจากแผ่นดินใหญ่ประมาณ 3,200  กิโลเมตรทิศเหนือของประเทศสหรัฐอเมริกาติดกับประเทศแคนาดา  ทิศใต้  ติดกับประเทศแม็กซิโกและอ่าวแม็กซิโก  ส่วนทิศตะวันออกติดกับชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติคและทางทิศตะวันตกจรดชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิค  การเดินทางจากฝั่งตะวันออกมาฝั่งตะวันตกใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมงโดยเครื่องบิน (ประมาณ 4,500 กิโลเมตร)

                ด้วยความที่เป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่มาก  จึงได้มีการจัดแบ่งรัฐต่างๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกา  ออกเป็นภูมิภาคต่างๆ ตามลักษณะภูมิประเทศดังนี้

 

New  EngLand  ครอบคลุมพื้นที่ของรัฐ  Maine,  New  Hampshire,  Vermont,  Massachusetts,  Connecticut  และ  Rhode  Island

 

The Middle Atlantic   ครอบคลุมพื้นที่ของรัฐ   New YorkNew JerseyPennsylvaniaDelaware และ Maryland

 

The South   ครอบคลุมตั้งแต่พื้นที่ของรัฐ  Virginia  ลงไปทางใต้จนถึงรัฐ  Florida  และไปทางตะวันตกจนถึงรัฐ  Texas  ตอนกลาง  รัฐที่อยู่ในภูมิภาคนี้รวมถึงรัฐ  West  Virginia  ,Kentucky,  Tennessee,  North  Carolina,  South  Carolina,  Georgia,  Alabama,  Mississippi,  Louisiana  และส่วนหนึ่งของรัฐ  Missouri  และ  Oklahoma

 

The  Midwest  ครอบคลุมตั้งแต่พื้นที่ของรัฐ Ohio จนถึง  Nebraska  และรวมถึงรัฐ  Michigan,  Indiana,  Wisconsin,  Illinois,  Minnesota,  Iowa,  Parts of Missouri,  North Dakota,  South Dakota,  Kansas และ Colorado  ด้านตะวันออก

 

The  Southwest   ครอบคลุมพื้นที่ในส่วนของรัฐ  Texas  ด้านตะวันตก  ส่วนหนึ่งของรัฐ  OklahomaNew MexicoArizonaNevada  และทางตอนใต้ของรัฐ California

 

The  West  ครอบคลุมพื้นที่ของรัฐ  Colorado,  Wyoming,  Montana,  Utah,  California,  Nevada,  Idaho,  Oregon,  Washington,  Alaska และ Hawaii

  

ภูมิอากาศ

                คุณสามารถพบกับสภาพอากาศทุกรูปแบบได้ในประเทศสหรัฐอเมริกา  ตั้งแต่บรรยากาศแบบแถบขั้วโลกซึ่งหนาวติดลบ 40 องศาเซลเซียส  จนถึงบรรยากาศที่ร้อนเหมือนทะเลทราย  45 องศาเซลเซียส  นอกจากนี้แล้ว  ประเทศสหรัฐอเมริกายังเป็นประเทศที่มีภาวะน้ำท่วมเหมือนบ้านเราในบางครั้ง  และยิ่งกว่านั้นอาจมีหิมะถล่ม  พายุทอร์นาโด  ไฟป่า  และแผ่นดินไหวในบางส่วนของประเทศ  ในบางช่วงเวลา  ส่วนแถบตอนกลางของประเทศมีอากาศในฤดูร้อนและฤดูหนาวแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงโดยจะมีอากาศหนาวที่สุดช่วงเดือนมกราคมและร้อนที่สุดในช่วงเดือนกรกฎาคม  ส่วนแถบตะวันออกอากาศในฤดูร้อนกับฤดูหนาวจะแตกต่างกันอย่างไม่ชัดเจนเท่าใดนัก  ในส่วนแนวชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก  อากาศในฤดูหนาวและฤดูร้อนจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย  ส่วนด้านแถบตะวันตกอากาศในอากาศในฤดูหนาวจะไม่เย็นจัดนักคล้ายกับฤดูใบไม้ผลิ  แต่ในฤดูร้อนอุณหภูมิของอากาศอาจสูงเท่ากับแถบเส้นศูนย์สูตร  ข้อสังเกตเกี่ยวกับฤดูต่างๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกาสามารถรวบรวมสรุปได้ดังนี้

 

                ฤดูร้อน                   อยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม

                ฤดูใบไม้ร่วง          อยู่ในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน

                ฤดูหนาว                 อยู่ในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์

                ฤดูใบไม้ผลิ            อยู่ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม

 

เวลา

                เนื่องจากประเทศสหรัฐอเมริกามีขนาดใหญ่มาก  จึงได้มีการจัดแบ่งการใช้เวลาออกเป็น 6 ส่วนใหญ่ๆโดยมี 4 ส่วนที่ต้องมีการปรับเวลาที่เรียกว่า Daylight  Saving Time (DST) เป็นการปรับเวลาในช่วงฤดูใบไม้ร่วง  ซึ่งมีการหมุนเข็มนาฬิกาให้เร็วขึ้น 1 ชั่วโมง  และสิ้นสุดการนับเมื่อถึงช่วงฤดูใบไม้ผลิโดยจะหมุนเข็มนาฬิกาให้ถอยหลัง 1 ชั่วโมง  สำหรับการกำหนดวันปรับ DST ของประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 2007-2015 ได้กำหนดเริ่มนับตั้งแต่วันอาทิตย์ที่สองของเดือนมีนาคม  และสิ้นสุดที่วันอาทิตย์แรกของเดือนพฤศจิกายน

                สำหรับรัฐ Alaska Hawaii  จะมีการกำหนดเวลาเองเรียกว่า Alaska Standard Time (AKST)  และ Hawaii Standard Time  (HST) สามารถดูรายละเอียดได้ที่ wwp.greenwichmeantime.us/daylight-saving-time

 

                สำหรับรายละเอียดของการกำหนดเวลาในพื้นที่หลัก 4 ส่วน ได้แก่

 

ส่วนภาคตะวันออก หรือ Eastern Time Zone (EST)

จะมีเวลาช้ากว่าในประเทศไทยเท่ากับ 12 ชั่วโมง แต่ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายนจะมีการปรับเลื่อนเวลาในช่วงฤดูร้อนอีก 1 ชั่วโมง  ซึ่งมีผลทำให้เวลาของอเมริกาช้ากว่าเวลาในประเทศไทยเป็น 13 ชั่วโมง เมืองสำคัญที่อยู่ในเขต EST คือ BostonNew  YorkWashington D.C.Miami  และ  Cleveland

    

ส่วนตอนกลางของประเทศ หรือ Central Time Zone

จะมีเวลาช้ากว่าเวลาในประเทศไทยเท่ากับ 13 ชั่วโมง  แต่ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน  มีการปรับ  Daylight Saving Time ซึ่งจะมีผลทำให้เวลาของอเมริกาช้ากว่าเวลาในประเทศไทยเป็น 14 ชั่วโมง  เมืองสำคัญที่อยู่ในเขตนี้คือ Chicago และ New Orleans

 

ส่วนเขตแถบภูเขา หรือ Mountain Time Zone

จะมีเวลาช้ากว่าเวลาในประเทศไทยเท่ากับ 14 ชั่วโมง แต่ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน จะมีการปรับเวลา Daylight Saving Time ซึ่งมีผลทำให้เวลาของอเมริกาช้ากว่าเวลาในประเทศไทยเป็น 15 ชั่วโมง เมืองสำคัญที่อยู่ในเขตนี้คือ Denver และ Phoenix

 

ส่วนพื้นที่ในย่านมหาสมุทรแปซิฟิค หรือ Pacific Time Zone

จะมีเวลาช้ากว่าเวลาในประเทศไทย 15 ชั่วโมงแต่ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน มีการปรับ Daylight Saving Time ซึ่งจะมีผลทำให้เวลาของอเมริกาช้ากว่าเวลาในประเทศไทยเป็น 16 ชั่วโมง เมืองสำคัญที่อยู่ในเขตนี้คือ San FranciscoSeattle และ Hawaii

 

                การจัดแบ่งในเรื่องของเวลาไม่ได้ใช้กฎเกณฑ์เกี่ยวกับขอบเขตดินแดนของรัฐเท่านั้น  แต่จะพิจารณาจัดแบ่งตามหลักของภูมิประเทศ  ดังนั้นจึงไม่สามารถจัดกลุ่มอาณาเขตของรัฐที่แน่นอนเกี่ยวกับการใช้เวลาได้  บางรัฐอาจมีการใช้เวลาแตกต่างกันออกไปในพื้นที่ต่างกัน  เนื่องจากมีเส้นแบ่งส่วนของเวลาตัดผ่าน  เรื่องของเวลาที่มีการปรับเปลี่ยนนี้  จะมีผลอย่างยิ่งในเรื่องของการเดินทาง  เนื่องจากตารางเวลาการเดินทางทุกชนิดไม่ว่าจะเป็น เครื่องบิน รถไฟ รถประจำทาง ฯลฯ  จะอ้างถึงเวลาท้องถิ่นเสมอ

 

ประชากร

                ปัจจุบัน  ประเทศสหรัฐอเมริกามีจำนวนประชากรรวมประมาณ 301.1 ล้านคน (ประมาณการ กรกฎาคม 2007) ประชากรดั้งเดิม  คือชาวอินเดียแดงแต่ปัจจุบันได้มีประชากรจากประเทศต่างๆทั่วโลกย้ายถิ่นฐานเข้ามาพำนักอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจนได้สมญานามว่า Melting Pot  ซึ่งหมายถึงการเป็นแหล่งศูนย์รวมของวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายและละลายกลายเป็นหนึ่งเดียว  คนอเมริกันมาจากทุกแหล่งทุดเผ่าพันธุ์ทั่วโลก  ในขณะที่แผ่นดินดั้งเดิมเป็นคนของอินเดียแดง  ผู้อพยพรุ่นแรกจะเป็นกลุ่มผู้คนที่มาจากประเทศอังกฤษและเนเธอร์แลนด์  อันเนื่องมาจากการเสาะแสวงหาโอกาสที่ร่ำรวยเสรีภาพทางการเมืองและศาสนา  จากข้อมูลในปัจจุบันประเทศสหรัฐอเมริกามีประชากรเป็นชาวผิวขาวประมาณ 81.7% ส่วนพวกคนดำหรือพวกที่เรามักรียกกันว่านิโกรที่ไม่ได้เป็นเจ้าของถิ่นนั้น  ก็ถูกนำมาจากทวีปอาฟริกาในฐานะทาส  จนกระทั้งในปี ค.ศ.1863  ในสมัยประธานาธิบดี ลินคอล์นก็ได้มีการประกาศ Emancipation Proclamation ซึ่งเป็นการปรับสถานภาพของคนดำให้ทัดเทียมแต่เดิมคนดำเหล่านี้มักอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ  แต่ปัจจุบันมีการกระจายอยู่ทั่วไป  โดยเฉพาะตามเมืองใหญ่ๆ อาทิเช่น Washington D.C.,  Chicago  แต่ที่มีมากที่สุดคงเป็นเมือง New York จากข้อมูลในปัจจุบันมีชนผิวดำในประเทศสหรัฐอเมริกาประมาณ 12.9%

               สำหรับชาว Hispanic หรือพวกเชื้อสายสเปนก็นับว่าเป็นเชื้อชาติที่มีอยู่จำนวนมากจำนวนหนึ่ง  คือประมาณ 12.5% ของจำนวนประชากรทั้งหมด  นอกจากนี้ก็จะเป็นชาวเอเชียหรือพวกเชื้อสายแถบหมู่เกาะแปซิฟิคซึ่งมีประมาณ 3.6% สำหรับ Hawaii จะเป็นรัฐที่มีชาวพื้นเมืองหรืชนเชื้อสายญี่ปุ่นอยู่มากกว่า 1 ใน 3

                  ประเทศสหรัฐอเมริกา  มีอัตราการเติบโตของประชากร (ประมาณการปี 2007) เท่ากับ 0.894% อัตราการเกิดเท่ากับ 14.16/ประชากร 1,000 คน อัตราการตาย 8.26/ประชากร 1,000 คน และอัตราการอพยพสุทธิ เท่ากับ 3.05/ประชากร 1,000 คน

 

ระบบการเมืองการปกครอง

                ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย  ในรูปแบบของสหพันธรัฐ  ประกอบไปด้วย 50 รัฐ และ 1 เขตการปกครอง คือ Washington D.C. ซึ่งเป็นเมืองหลวงและศูนย์กลางการปกครอง  โครงสร้างของรัฐบาลแห่งชาติและกิจกรรมของรัฐบาลจะถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ  ในส่วนของกิจกรรมที่นอกเหนือไปจากที่กำหนดอาทิเช่น  อำนาจการจัดการด้านการศึกษา  หรือนโยบายการบำรุงรักษาถนนหนทาง  รวมถึงการดำเนินงานด้านตำรวจจะเป็นความรับผิดชอบของแต่ละรัฐ  ซึ่งมีรัฐธรรมนูญและกฎหมายของตนเอง

                ระบบการเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกามีประธานาธิบดีเป็นประมุขสูงสุด  ไม่มีนายกรัฐมนตรี  และเป็นระบบที่มีพรรคการเมืองใหญ่เพียง 2 พรรคเท่านั้น คือ พรรคเดโมแครตกับพรรคครีพับรีกัน

               ส่วนพรรคการเมืองอื่นๆจะเป็นพรรคขนาดเล็กที่ไม่ค่อยมีโอกาสในการรับเลือกตั้ง  ไม่ว่าจะเป็นในระดับประเทศหรือระดับรัฐ  เรื่องของการเลือกตั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา  ตามกฎหมายจะมีการเลือกตั้งทุก 4 ปี โดยถือเอาวันอังคารแรกของเดือนพฤศจิกายนเป็นวันเลือกตั้ง

 

ระบบเศรษฐกิจ

              เศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นระบบเศรษฐกิจเสรีชาวอเมริกันส่วนมากเป็นประชาชนที่จัดว่าอยู่ในระดับปานกลางจำนวนประชากรที่รวยมากหรือจนมากจะมีน้อย  ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่เจริญและเป็นผู้นำในธุรกิจต่างๆมากมาย

                เป็นที่ทราบกันว่าประเทศสหรัฐอเมริกามีระบบเศรษฐกิจและวิทยาการเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีอิทธิพลต่อโลกมากที่สุดประเทศหนึ่ง  ด้วยอัตราเติบโตของ GDP เท่ากับ 2.9% (ตัวเลขคาดการณ์ ปี2006) และมีอัตรา GDP ต่อหัวต่อปีที่สูงมากคือประมาณเท่ากับ US $43,500 ถึงแม้ว่าจะไม่สูงที่สุดในโลกเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆแต่ก็ยังทำให้ประเทศนี้มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูง  มีอัตราการว่างงานที่ต่ำ  และยังมีการลงทุนด้านการพัฒนาและวิจัยในระดับสูงด้วย  เมื่อเทียบอัตราส่วนประเภทของเศรษฐกิจ  พบว่า ภาคการบริการมีอัตราส่วนมากที่สุดถึงร้อยละ 78.6 ทำให้ภาคเอกชนและบริษัทธุรกิจต่างๆ  มีบทบาทเป็นผู้กำหนดทิศทางในการตัดสินใจในการพัฒนาได้อย่างเสรีประเทศสหรัฐอเมริกามีตัวเลขประมาณของจำนวนประชากรแรงงาน 151.4 ล้านคน (รวมผู้ไม่มีงานทำ) โดยมีอัตราผู้ว่างงาน 4.8% มีตัวเลขอัตราเงินเฟ้อ 2.5% มีมูลค่าการส่งออก USD 1.024 ล้านล้าน ประเทศคู่ค้าหลักที่สำคัญได้แก่ Canada 22.2% ,Mexico 12.9%, Japan 5.8%, China 5.3%, UK 4.4% (2006) และมีมูลค่าการนำเข้า USD 1.869 ล้านล้าน ประเทศคู่ค้าหลักที่สำคัญ ได้แก่ Canada 16%, China 15.9%, Mexico 10.4%, Japan 7.9%, Germany 4.8% (2006) โดยรัฐบาลกลางทำหน้าที่สนับสนุนการพัฒนาการขนส่งให้บริการด้านไฟฟ้าและคำแนะนำทางวิทยาศาสตร์ต่อเกษตรกรและการประกันราคาพืชผลขั้นต่ำสำหรับพืชผลสำคัญ  นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ในการตรวจสอบคุณภาพอาหารและยา  ประกันเงินฝากและค้ำประกันเงินกู้  ส่งเสริมการศึกษาและสนับสนุนสายการบินฯลฯ

                ในเรื่องของทรัพยากรธรรมชาติ  ประเทศสหรัฐอเมริกานับว่าเป็นประเทศหนึ่งที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติต่างๆมากมายพื้นที่กว่า 1 ใน 3 ของประเทศ เป็นป่าไม้ซึ้งเอื้ออำนวยต่อประโยชน์ด้านการพาณิชย์และช่วยป้องกันน้ำท่วม  นอกจากนี้ยังมีโลหะและแร่ต่างๆอีกมากมาย

 

สังคมและวัฒนธรรม

                สืบเนื่องมากจากความหลากหลายของประชากรที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาจึงทำให้ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมไปโดยปริยายคนกลุ่มต่างๆที่ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมเดิมของตนไว้และเกาะกลุ่มอยู่ด้วยกันก็มีให้เห็นอยู่ทั่วไป อาทิเช่น China Town และที่ Little Italy  ชาวอเมริกันเป็นคนที่ไวต่อการเรียนรู้และเปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆ  เต็มใจที่จะค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่ใคร่รู้จักจึงต้องใช้ความอิสระและการมองสิ่งต่างๆในแง่ดีซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งของคนอเมริกันส่วนหนึ่งที่มีมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งประเทศ

                จากการที่มีพื้นที่อาณาบริเวณที่กว้างใหญ่  จึงทำให้มีขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมที่ต่างกันไปตามภูมิภาค  รวมถึงความแตกต่างด้านการใช้ภาษาอังกฤษ  ซึ่งภาษาพูดสำเนียงแบบท้องถิ่นก็ยังมีอิทธิพลอยู่ค่อนข้างมากตลอดจนทัศนคติและความคิดเห็น

                นอกจากนี้  คนอเมริกันรุ่นใหม่จะมีความสนใจเรื่องรอบข้างมากกว่าแค่การเรียน  การศึกษาหรือการทำงาน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับวัยรุ่น  ซึ่งจะมีความสนใจในการร่วมกิจกรรมต่างๆมากมาย เล่นกีฬาทุกรูปแบบ  พร้อมกับมีส่วนร่วมในองค์กรต่างๆสำหรับเยาวชน  ยิ่งไปกว่านั้นกลุ่มวันรุ่นมักจะมีงานนอกเวลาทำกันเป็นส่วนใหญ่  เพื่อหารายได้มาทำกิจกรรมต่างๆที่ตนเองต้องการ

                คนอเมริกันส่วนใหญ่จะได้รับเงินประกันสังคมและเบี้ยบำนาญอื่นๆรวมถึงเงินออมทรัพย์หรือเงินสะสมเมื่ออายุครบเกษียณ  สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่มีความช่วยเหลือด้านการเงินในรูปแบบนี้  ก็จะได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐในรูปแบบของโครงการพิเศษต่างๆ ซึ่งอาจเป็นสวัสดิการทางสังคมทั้งในส่วนจากรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น

 

ศาสนา

                ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีเสรีภาพในเรื่องของการนับถือศาสนาโดยให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมกันของประชาชน  และด้วยความหลากหลายของเชื้อชาติของประชากร  ชาวอเมริกันจึงมีสิทธิเสรีภาพในการเลือกนับถือศาสนาใดก้อได้ตามความเชื่อของแต่ละบุคคลหรือจะไม่นับถือศาสนาใดๆเลยก็ได้  อย่างไรก็ดีศาสนาที่มีชาวอเมริกันนับถือมากที่สุดก็คือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์นั่นเองจากตัวเลขที่เคยมีการสำรวจคือ โปรแตสแตนท์ 52% โรมันคาทอริก 24% มอร์มอน 2% ยิว 1% มุสลิม 1% อื่นๆ 10% ไม่นับถือ 10%  (ปี 2002)

   

วัฒนธรรมชาวอเมริกัน  และการใช้ชีวิตที่อเมริกา

 

                ประเทศอเมริกานั้นมีประชากรอยู่ราวๆ 285 ล้านคนและชาวอเมริกันมีต้นกำเนิดจากที่อื่นๆทั่วโลก  คนเหล่านี้ถือว่าอเมริกาคือบ้านของตนตามเมืองต่างๆ  ในอเมริกาจะมีกลุ่มผู้อพยพและละแวกที่อยู่อาศัยของเชื้อชาติต่างๆมากมายคนเหล่านี้มีวิถีชีวิตและประเพณีตามแบบสังคมเดิมของตนและแม้ว่าพวกเขาอาจจะยังคงมีวิถีชีวิตตามเชื้อชาติเดิมอยู่ในครอบครัว แต่เกือบทุกคนก็หล่อหลอมเข้าสู่กระแสหลักของอเมริกัน ผู้ที่อาศัยอยู่ในแต่ละส่วนของอเมริกาอาจจะมีทัศนคติและค่านิยมแตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น มุมมองแบบชาวนิวอิงแลนด์ดั้งเดิม จะไม่เหมือนกับมุมมองของชาวเท็กซัส ซึ่งก็คล้ายกับความแตกต่างระหว่างมุมมองแบบฝรั่งเศสดั้งเดิมกับแบบของอังกฤษ

                การเข้าหาชาวอเมริกันเป็นเรื่องง่ายการเป็นผู้มาเยือนจากประเทศอื่นนั้นทำให้นักศึกษามี เสน่ห์ มากขึ้น อย่ารู้สึกขุ่นข้องหมองใจเมื่อได้พูดคุยกับชาวอเมริกันแล้วพบว่าชาวอเมริกันจำนวนไม่น้อยขาดความรู้เกี่ยวกับประเทศของเรา โดยทั่วไปชาวอเมริกันมักจะสนใจและอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับประเทศอื่น การมาเป็นคนใหม่ในที่ทำงานและในชุมชนของสหรัฐอเมริกานั้น นักศึกษาจะต้องเป็นคนที่เปิดกว้างและขยายมิตรภาพออกไป นักศึกษาสามารถจะเป็น ฑูตทางวัฒนธรรม ให้กับเพื่อนใหม่ของนักศึกษาได้

นักศึกษาอาจจะพบว่าวัฒนธรรมอเมริกันมีทั้งส่วนที่เหมือนกับแบบฉบับทั่วไปซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี และส่วนที่เป็นลักษณะที่ไม่อาจคาดหวังได้ หรือขัดแย้งกันเอง เรื่องราวต่อไปนี้เป็นเรื่องราวของมุมมองและทัศนคติตามแบบวัฒนธรรมของอเมริกัน ซึ่งนักศึกษาต่างชาติในมหาวิทยาลัยสหรัฐมักจะสังเกตเห็น

 

ความเป็นมิตรของชาวอเมริกัน

ชาวอเมริกันเป็นคนที่เรียกว่ามีความกระตือรือร้นและผูกมิตรในสถานที่ใหม่ๆง่ายมาก นักศึกษาจะพบว่าชาวอเมริกันส่วนใหญ่จะอบอุ่นและยอมรับนักศึกษาซึ่งอาจทำให้นักศึกษารู้สึกดี หรือจนบางทีนักศึกษาอาจรู้สึกว่าการแสดงออกบางอย่างเป็นการแสดงออกที่จะมากเกินไปก็ได้


วิถีแห่งความเร่งรีบของคนเมือง

เมื่อนักศึกษามาถึงสหรัฐอเมริกาในตอนแรกนักศึกษาอาจจะรู้สึกว่าทุกคนกำลังเร่งรีบทั้งนั้น โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ เช่น นิวยอร์ก คนขับรถเมล์ก็รีบร้อน พนักงาน บริกรก็เร่งรีบ นักศึกษา ผู้คนก็ผลักให้นักศึกษาหลีกเพื่อรีบไป แม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะดูเหมือนไม่สุภาพแต่นักศึกษาไม่ควรจะถือสา (ที่จริงก็ไม่น่าจะแตกต่างกับวิถีชีวิตของคนกรุงเทพฯมากนักเพราะเป็นเมืองใหญ่เช่นเดียวกัน) นักศึกษาจากต่างจังหวัด เช่น มาจากเชียงใหม่ ขอนแก่น หาดใหญ่ และจังหวัดอื่นๆ อาจต้องปรับตัวบ้าง โดยเฉพาะนักศึกษาที่ต้องไปทำงานในเมืองใหญ่ แต่หากนักศึกษาได้ไปอยู่ในเมืองเล็กๆ นักศึกษาจะได้พบเห็นชีวิตที่สบายๆมากขึ้น มีความเป็นมิตร และความเป็นกันเองมากขึ้น


                ความเงียบ

ชาวอเมริกันหลายคนรู้สึกว่าความเงียบทำให้รู้สึกอึดอัด นักศึกษามักจะท่องหนังสือพร้อมกับเพลงดังๆ ส่วนคนทั่วไปก็จะเปิดโทรทัศน์ไว้ตลอดเวลาเพื่อ เป็นเพื่อน การพูดคุยทักทาย สื่อสาร เป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนอเมริกัน นักศึกษาพึงทักทายหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงานเมื่อพบกันในตอนเช้าและพยายามพูดคุยเมื่อมีโอกาส การบอกลาเมื่อเลิกงานนั้นเป็นมารยาทสังคมทั่วไป ที่สำคัญในประเทศประเทศสหรัฐอเมริกา

  

ความเปิดเผย

คนส่วนใหญ่ในอเมริกาเป็นคนเปิดเผยและไม่ค่อยจะพยายามเก็บซ่อนความคิดเห็นของพวกเขา อย่าแปลกใจถ้าหากพบคนที่เพิ่งรู้จักกันแล้วเขาเล่าถึงชีวิตส่วนตัวของเขาให้นักศึกษาฟัง หรือแสดงความรู้สึกอย่างเปิดเผยทั้งที่เพิ่งรู้จักกัน คนอเมริกันแสดงออกถึงความรู้สึกความคิดอ่าน และมักเป็นคนเปิดเผย

 

เวลา

ชาวอเมริกันถือว่าเวลาเป็นเหมือนต้นทุนพื้นฐานอย่างหนึ่ง นักศึกษาจะพบว่าชาวอเมริกันมักจะคิดคำนวณเรื่องของเวลาและก็เรียกเก็บเงินเพื่อเวลาของพวกเขาด้วย แนวคิดในเรื่องเวลาของอเมริกันแตกต่างกับคนไทยมาก ขอให้นักศึกษาตระหนักไว้เสมอว่าแนวคิดเรื่องเวลาเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในการใช้ชีวิตอยู่และทำงานในสหรัฐอเมริกา การตรงต่อเวลามีความสำคัญอย่างมาก

การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่

ปัญหาด้านภาษา

                การพูดภาษาอังกฤษในห้องเรียน เป็นเรื่องที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับการอาศัยอยู่ในสังคมที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารทุกวัน ปัญหาด้านภาษาที่นักศึกษาต่างชาติส่วนใหญ่ต้องพบเจอ คือ

                      เราอาจไม่สามารถเข้าใจในสำเนียงของท้องถิ่นนั้นๆ ได้ทันที เนื่องจากในแต่ละภูมิภาคอาจมีสำเนียง

                     การพูดที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น เราต้องให้เวลากับตนเองในการเรียนรู้

                     คนอเมริกันอาจไม่สามารถเข้าใจการพูดของเราได้ในทันที เนื่องจากนักศึกษาต่างชาติ ก็จะมีสำเนียง

                      การพูดของตนเอง หรืออาจใช้คำศัพท์ที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น เราจึงต้องพยายามพูดให้ช้าลง

                      เพราะเราไม่เข้าใจในสิ่งที่เขากำลังพูด

                     ชาวอเมริกันใช้คำแสลงและคำศัพท์เฉพาะกลุ่มในบทสนทนาค่อนข้างมาก ภาษาจึงมีสีสันและเต็มไป

                     ด้วยจินตนาการ ดังนั้นจึงอาจต้องใช้เวลาบ้างในการที่จะเข้าใจได้ทั้งหมด

                     ความตลกขบขัน คำคม คำประชดหยอกล้อ เป็นสิ่งที่ทำให้ภาษาอังกฤษแบบอเมริกันมีความสมบูรณ์

                    นักศึกษาต่างชาติอาจมีปัญหาในการกรับตัวให้เข้ากับบทสนทนาอย่างเป็นกันเองแบบนี้ หรืออาจไม่

                    เข้าใจว่าผู้พูดซีเรียสขนาดไหน เราควรมองสิ่งนี้เป็นเรื่องของการให้ความเป็นเพื่อนมากกว่าความ

                    ไม่ เคารพ

                     เราอาจไม่เข้าใจในตัวอักษร หรือคำย่อต่างๆ ทางเทคนิค อาทิเช่น TA ย่อมาจาก Teacher Assistant หรือ

                     dorms ย่อมาจาก dormitories

                ดังนั้น สิ่งที่ช่วยได้คือการให้เวลากับตนเองในการปรับตัวและอย่าลังเลในการขอให้พูดซ้ำอีกครั้งหรือพูดให้ช้าลง หรือให้อธิบายถึงความหมาย และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ อย่ากลัวที่จะพูดผิด สิ่งเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์การเรียนรู้ของเรา

 

 ความตระหนกในวัฒนธรรมและความคิดถึงบ้าน (Culture Shock)

 

                Culture Shock หรือความแตกต่างทางวัฒนธรรม เป็นขั้นตอนของการปรับตัวให้เข้ากับประเทศใหม่ๆ และวัฒนธรรมใหม่ๆ ซึ่งอาจแตกต่างกับวัฒนธรรมเดิมของเราอย่างสิ้นเชิง นอกจากนี้ สภาพอากาศ อาหาร ผู้คนและวิถีการใช้ชีวิตของคนเหล่านี้ อาจเป็นสิ่งที่แปลกสำหรับเรา รวมทั้งความสามารถทางภาษาของเราก็ยังไม่ดีเพียงพอ สิ่งต่างๆ เหล่านี้อาจทำให้เราเกิดความรู้สึกอึดอัดกดดันและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของชีวิต

                ถ้าเราเริ่มรู้สึกแบบนี้เมื่อไหร่ ก็ไม่ต้องตกใจเพราะนั่นเป็นปฏิกิริยาตอบสนองธรรมดาที่อาจเกิดขึ้น และเมื่อเราปรับตัวได้เมื่อไหร่ เราก็จะเริ่มเข้าใจในสิ่งรอบข้างมากยิ่งขึ้น ความรุนแรงและรูปแบบของอาการ Culture Shock จะแตกต่างกันในนักศึกษาต่างชาติแต่ละคน

 

                การปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรม และวิถีชีวิตใหม่เป็นสิ่งที่ทั้งน่าตื่นเต้น และท้าทาย จะไม่เป็นการแปลกแต่อย่างใดเลย ถ้านักศึกษาจะได้มีประสบการณ์ถึงความรู้สึกที่ดีที่สุด หรือว่าจะรู้สึกท้อแท้ที่สุดในระหว่างที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา เพราะถ้าหากนักศึกษากำลังอยู่ในการผจญภัยครั้งใหญ่ในชีวิตและการย้ายเข้าไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมใหม่ อาจทำให้นักศึกษารู้สึกแปลกไม่คุ้นเคย ไม่ชินและหลายครั้งรู้สึกว่ามันช่างยากลำบากทีเดียว ในระหว่างเวลาที่ยากลำบากนั้น ขอให้นักศึกษาระลึกไว้เสมอว่า ความแตกต่างจากสิ่งที่เคยเป็นไม่ใช่สิ่งผิด การคิดที่แตกต่างและการปฏิบัติที่แตกต่างจากที่เราเคยพบเห็นเป็นสิ่งที่นักศึกษาจะต้องพบ เมื่อเดินทางไปอยู่ต่างถิ่น ความแตกต่างทางวัฒนธรรมต่างๆ นั้นเป็นสิ่งที่ทำให้พวกเราทุกคนรักการเดินทาง เป็นสีสันแห่งประสบการณ์ สิ่งที่ทำให้การเดินทางไปยังที่ใหม่ๆ งดงาม และสิ่งที่น่าพิสมัยก็คือการได้มีประสบการณ์ในสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อนนั่นเอง!

ขั้นตอนการปรับตัวทางวัฒนธรรม

                แม้ว่าแต่ละคนจะมีวิธีการแสดงออกที่แตกต่างกันออกไปในการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมใหม่ๆ  แต่โดยทั่วไปการปรับตัวทางวัฒนธรรมที่นักศึกษา ที่ต้องไปใช้ชีวิตในต่างประเทศมี 3 ระยะ ดังนี้

1.               ระยะแรกนักศึกษาอาจจะมีประสบการณ์ที่รู้สึกตื่นเต้น สนุก และมีความสุข นักศึกษาจะนึกอยู่เสมอๆ ว่านักศึกษากำลังอยู่ในต่างประเทศ ในวัฒนธรรมใหม่ๆ และอยู่ห่างจากบ้านมาหลายพันไมล์ มีความอิสระ อยากรู้อยากเห็น หรืออยากท่องเที่ยวเพื่อให้มีความรู้สึกถึงการได้มาผจญภัย

2.               ในระยะต่อมานั้น นักศึกษาจะเริ่มปรับตัวเข้ากับกิจกรรมในชีวิตประจำวันของคนที่อยู่รอบๆ ข้าง ความรู้สึกผจญภัยนั้นจะค่อยๆ จางลงไป นักศึกษาอาจจะพบภายหลังว่าชีวิตใหม่ในสหรัฐอเมริกาของนักศึกษา จริงๆ แล้วค่อนข้างจะธรรมดาและอาจน่าเบื่ออยู่บ้างซึ่งก็เหมือนกับตอนอยู่มี่บ้านตัวเอง ระหว่างนี้นักศึกษาอาจจะเริ่มคิดถึงเพื่อนและบ้านเกิด เริ่มคิดถึงความสะดวกสบาย และหวังอยากจะให้สิ่งต่างๆ ในสหรัฐอเมริกามีความเหมือนกับประเทศไทยมากขึ้น เริ่มเห็นจุดบกพร่องของสังคมรอบข้าง ระหว่างช่วงเวลานี้นักศึกษาอาจจะรู้สึกว่าการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวัน พร้อมทั้งรักษาทัศนคติเชิงบวกเอาไว้เป็นเรื่องค่อนข้างยาก และนักศึกษาอาจจะรู้สึกโน้มเอียงว่าอยากจะปลีกตัวจากคนรอบๆ ตัว หรือแม้แต่ทำตัวเป็นปฏิปักษ์กับคนอื่นๆ แม้แต่สิ่งที่ธรรมดาที่สุดก็อาจจะดูเหมือนกับยากเย็น ณ จุดนี้ แต่คนส่วนใหญ่จะผ่านช่วงของความรู้สึกเช่นนี้ได้ในเวลาไม่นาน อยากให้นักศึกษาระลึกไว้ว่า นักศึกษาก็เป็นเหมือนคนอื่นๆ ที่จะต้องผ่านช่วงเวลาเช่นนี้ และทุกคนก็ผ่านมันไปได้ด้วยดี ที่สำคัญการผ่านขั้นตอนนี้ จะทำให้นักศึกษารู้สึกดีขึ้นและความรู้สึกถึงความสำเร็จเมื่อสิ้นสุดโครงการ

3.           ขั้นตอนระยะที่สองจะเปิดทางให้ระยะที่สามก้าวเข้ามาในเวลาไม่นาน นั่นคือการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมอเมริกันอย่างแท้จริง  เมื่อนักศึกษาเริ่มคุ้นเคยกับค่านิยมและบุคลิกลักษณะของผู้คนในสหรัฐอเมริกามากขึ้น  ชีวิตในแต่ละวันก็จะง่ายขึ้นนักศึกษาจะพบว่าการทำตัวให้กลมกลืนกับวัฒนธรรมอเมริกันเป็นเรื่องง่ายขึ้นขึ้นและโดยนักศึกษาจะเริ่มมีประสบการณ์กับวัฒนธรรมในวิถีทางที่นักศึกษาจะไม่มีวันได้พบเห็นถ้าหากนักศึกษาเป็นเพียงนักท่องเที่ยวซึ่งใช้เวลาอยู่ในสหรัฐอเมริกาเพียงสองสามสัปดาห์

 

                กลยุทธ์ในการต่อสู้กับความกดดันของอาการ Culture Shock สามารถสรุปได้ ดังนี้.-

                พยายามค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ชีวิตและวัฒนธรรมแบบอเมริกัน และตอบตัวเองให้ได้ว่าควรจะ

                คาดหวังอะไรบ้าง

                รับประทานอาหาร นอนหลับและดูแลสุขภาพของตนเองให้ดี

                การออกกำลังกายเป็นการลดหย่อนความกดดันได้เป็นอย่างดี อาจสมัครเข้าเป็นสมาชิกชมรมกีฬา หรือเข้า

                กิจกรรมกลางแจ้งบ้าง

                หาบริเวณในการเดินเที่ยวบริเวณใกล้เคียงกับที่พักเพื่อให้เกิดความรู้สึกเหมือนบ้าน และรู้ว่าร้านขายของ

                 อยู่ตรงไหน จุดจอดรถอยู่ที่ไหนบ้าง หรือมีอะไรทำบ้างในบริเวณใกล้เคียงกับที่พักอาศัย และอย่าลืมพก

                 แผนที่ติดตัวไปด้วย

                ติดต่อกับทางบ้านและเพื่อนๆอย่างสม่ำเสมอบอกเล่าให้เขาฟังเกี่ยวกับประสบการณ์ของเรา

                ใช้เวลากับการพักผ่อนบ้าง เช่นฟังวิทยุ อ่านหนังสือที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการศึกษา

                อย่าลืมความรู้สึกตลกขบขันของตัวเอง ให้หัวเราะกับสิ่งผิดพลาดที่เกิดขึ้น แทนที่จะรู้สึกหดหู่

                นอกจากนี้ อีกสิ่งหนึ่งที่ควรระลึกไว้เสมอเมื่อต้องเจอกับปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นก็คือ เรายังมีเพื่อน หรือ

                คนที่สามรถช่วยเหลือเราได้เมื่อเราเดือดร้อน เราไม่ได้อยู่เพียงคนเดียว เรายังมีเพื่อนโดยเฉพาะนักศึกษา

               ไทยด้วยกันซึ่งอาจจะเข้าใจถึงปัญหาที่เรากำลังประสบอยู่

 

ลักษณะของชาวอเมริกัน

                ทุกคนย่อมเคยได้ยินเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับชาวอเมริกันมาบ้างแล้วไม่มากก็น้อย ทั้งในแง่ดีและแง่ลบ อย่างไรก็ดี กล่าวได้ว่าสังคมชาวอเมริกันนั้นมีความสลับซับซ้อน และหลากหลายเป็นอย่างมาก และไม่สามารถให้คำจำกัดความเป็นข้อสังเกตเพียงเล็กน้อยได้  ความแตกต่างที่มีความสำคัญมีทั้งในระหว่างภูมิภาคต่างๆ กัน  ระหว่างชนบทและในเมืองใหญ่ และระหว่างระดับชั้นในสังคม นอกจากนี้ ผู้ที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาในประเทศเป็นจำนวนหลายล้านคน  ก็มาจากประเทศต่างๆที่มีพื้นฐานด้านวัฒนธรรมและแนวความคิดที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มรสชาติและสีสันให้กับชีวิตชาวอเมริกัน

                ลักษณะต่างๆดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นลักษณะที่บ่งบอกได้ถึงความเป็นอเมริกันอย่างแท้จริงในสังคมชาวอเมริกัน

 

 Individuality

                คือความเป็นปัจเจกบุคคลซึ่งถือว่าเป็นลักษณะสำคัญอย่างยิ่งสำหรับชาวอเมริกัน ชาวอเมริกันอาจมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับครอบครัว หรือมีความจงรักภักดีต่อกลุ่มเพื่อนพ้อง แต่ความเป็นปัจเจกบุคคลและสิทธิของแต่ละบุคคลถือว่ามีความสำคัญมากที่สุด ถึงแม้ว่าเราจะมองสิ่งนี้เป็นเรื่องของความเห็นแก่ตัว แต่สิ่งนี้ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ชาวอเมริกันเป็นผู้ให้ความเคารพต่อสิทธิส่วนบุคคลของบุคคลอื่นๆ และยืดหยัดในการเรียกร้องถึงความเท่าเทียมกันของบุคคล

                ความซื่อสัตย์ (Honesty) และความเปิดเผยตรงไปตรงมา (Frankness) เป็นลักษณะที่มีความสำคัญที่สุดของความเป็นปัจเจกบุคคลของชาวอเมริกัน ซึ่งสำคัญกว่าศักดิ์ศรีส่วนตัวหรือการรักษาหน้า ชาวอเมริกันอาจดูทื่อๆ ในบางครั้ง และในขณะที่กำลังอยู่ในบทสนทนาที่สุภาพ ชาวอเมริกันอาจพูดถึงในเรื่องที่อาจทำให้เรารู้สึกกระดาก อาย ขัดแย้ง หรือบางครั้งรู้สึกว่าเป็นการล่วงละเมิด ชาวอเมริกันชอบพูดตรงไปที่จุดที่ต้องการจะพูดเลยโดยไม่อ้อมค้อม และหากมีปัญหาอะไรจะชอบพูดคุยกันเองโดยตรง ไม่ต้องการคนที่สามเข้ามาช่วยพูดไกล่เกลี่ยให้

                ชาวอเมริกันชอบแต่งตัวและมีกิจกรรมสันทนาการต่างๆ ในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ ถึงแม้ว่าจะมีช่องว่าระหว่างอายุก็ตามหรือมีความแตกต่างของฐานะทางสังคมค่อนข้างมาก เขาก็สามารถพูดคุยกันได้อย่างเป็นกันเอง นักศึกษาและอาจารย์ผู้สอนมักเรียกชื่อกันโดยใช้ชื่อนำหน้าเท่านั้น ซึ่งนักศึกษาต่างชาติอาจมองว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการไม่ให้ความเคารพ หยาบคาย แต่สิ่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมชาวอเมริกัน

               

Competitiveness

                คือการแข่งขันนั่นเอง ชาวอเมริกันให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับความสำเร็จ ซึ่งเป็นสิ่งที่นำพาให้เกิดสภาพการแข่งขันซึ่งกันและกันอยู่ตลอดเวลา และเป็นสิ่งปกติสำหรับชาวอเมริกัน แต่นักศึกษาต่างชาติบางส่วน อาจรู้สึกรับไม่ได้หรือไม่เห็นด้วย  ชาวอเมริกันอาจหมกมุ่นอยู่กับบันทึกของความสำเร็จต่างๆ อาทิเช่น ทางด้านกีฬา ทางธุรกิจ หรือในสิ่งธรรมดาๆ อย่างอื่น การวัดความสำเร็จของหนังสือหรือภาพยนตร์ อาจไม่ได้วัดกันที่คุณภาพเท่านั้น แต่จะดูยอดขาย หรือความสามรถของการทำรายได้/กำไร ได้เท่าไหร่ด้วย            ถึงแม้ว่าการแข่งขันจะเป็นส่วนหนึ่งของชาวอเมริกัน แต่เขาก็มีความรู้สึกของการทำงานเป็นทีม และการร่วมงานกับผู้อื่น เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ดีเช่นกัน

               

Measuring Success

                คือการวัดการประสบความสำเร็จ ชาวอเมริกันมักถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกวัตถุนิยมและผลักดันเพื่อความสำเร็จ อาทิเช่น คนคนนี้มีเงินเท่าไหร่ ธุรกิจนี้สามารถทำกำไรได้เท่าไหร่ หรือจะต้องมีสิ่วต่างๆรอบตัวเท่าไหร่จึงจะเรียกว่าประสบความสำเร็จ ซึ่งทำให้ต้องย้อนกลับไปดูในเรื่องของการแข่งขันของชาวอเมริกัน ชาวอเมริกันส่วนมากจะทำตารางนัดเวลาและดำเนินชีวิตตามนั้น ตรงต่อเวลา สำหรับนักศึกษาต่างชาตินั้นชาวอเมริกันดูเป็นพวกที่ชอบเร่งรีบซึ่งบางครั้งอาจทำให้ดูไม่สุภาพนัก อย่างไรก็ดี แนวความคิดแบบนี้ทำให้ชาวอเมริกันทำงานกันอย่างมีประสิทธิภาพและทำงานได้สำเร็จตรงตามเวลาที่วางไว้

                แต่ก็มีชาวอเมริกันจำนวนมากที่ไม่เห็นด้วยกับคำจำกัดความของการประสบความสำเร็จในรูปแบบนี้ พวกเขาเหล่านั้นจะมีความสุขกับชีวิตที่เรียบง่าย สบายๆ และไม่กระตือรือร้นหรือก้าวร้าวจนเกินไป มีชาวอเมริกันจำนวนมากที่มีสิ่งต่างๆรอบตัวมากมาย และก็ยังมีเวลาในการชื่อชมกับความมีวัฒนธรรม จิตวิญญาณและการใช้ชีวิตของมนุษย์

 

ค่านิยมของสังคมอเมริกัน

                ค่านิยม หรือ Value มีความหมายถึงคุณประโยชน์ในตัวของมันเอง ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นเงินไม่ได้ และได้รับความยอมรับนับถือในแต่ละสังคม ค่านิยมจะเป็นบรรทัดฐานในการกำหนดความประพฤติ การปฏิบัติของบุคคลที่อยู่ในสังคมนั้นๆ

                ค่านิยมของชาวอเมริกัน ย่อมแตกต่างไปจากค่านิยมของสังคมไทย และที่เห็นได้ชัดคงเป็นในรูปแบบที่สังคมของชาวอเมริกัน จะเน้นให้ความสำคัญกับจุดมุ่งหมายขององค์กร การงาน หรือหลักการมากที่สุด หรือที่เรียกว่าเป็น Achieving Society หรือ Result-Oriented Society นั่นเอง

                นอกจากนี้ ชาวอเมริกันจะมีค่านิยมที่เรียกว่า Assertiveness ซึ่งหมายถึงความสามรถในการพูดในสิ่งที่ตนเองคิดออกมาได้โดยไม่ต้องรอให้ผู้อื่นถาม ซึ่งสามรถสังเกตได้ชัดเจนจากลักษณะการเรียนการสอนในชั้นเรียนของชาวอเมริกัน

                ค่านิยมสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ Accountability ซึ่งเป็นเครื่องชี้ว่ายอมรับและนำไปปฏิบัติด้วยความรับผิดชอบ สำหรับชาวอเมริกันแล้ว การรับปากในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจะถือว่าเป็นความรับผิดชอบของเขาโดยตรง แต่สำหรับในสังคมไทย การตอบรับในบางเรื่องอาจไม่อาจไม่ได้มีนัยสำคัญต่อการกระทำที่จะเกิดขึ้นจริงๆเลย อาทิเช่น การพูดว่า แล้วจะโทรไปหาซึ่งกล่าวได้ว่าในหลายโอกาสผู้พูด พูดออกไปเหมือนรับปากว่าจะทำ แต่ใจจริงอาจไม่ได้คิดจะทำเลย และถ้าเป็นการสนทนาระหว่างคนไทยด้วยกัน ต่างคนจะสามารถเข้าใจความหมายที่แท้จริงของคำพูดทำนองนี้ได้แต่สำหรับชาวอเมริกันแล้วนั้น การพูดว่าจะทำอะไร จะเป็นสิ่งที่แสดงถึงความตั้งใจของผู้ตอบรับว่าจะทำจริง

                ค่านิยมหลักอื่นๆ ของสังคมชาวอเมริกัน ได้แก่ การมีความคิดริเริ่มเป็นของตัวเอง การคำนึงถึงผลงานเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ความเปิดเผยและความมุ่งมั่นในการทำกิจกรรมให้สำเร็จลุล่วง และการใช้วิจารณญาณ และความคิดวนการวิพากษ์วิจารณ์ ค่านิยมเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่มีผลต่อรูปแบบและแนวทางในการดำรงชีวิตของคนอเมริกันทั้งสิ้น นั่นคือการยึดหลักการ/ผลงานเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ทุกคนมีสิทธิพูดและโต้ตอบอย่างเท่าเทียมกัน

 

วิถีชีวิตของชาวอเมริกัน

การพักผ่อนหย่อนใจ

กิจกรรมการพักผ่อนหย่อนใจของชาวอเมริกันมักจะแตกต่างหลากหลายมากขึ้นอยู่กับช่วงเวลาแต่ละช่วงปี และภูมิภาคของพวกเขา กีฬา (ทั้งการเล่น และการดู) เป็นกิจกรรมหลักในชุมชนเกือบทุกชุมชน

โดยทั่วไปแล้วชาวอเมริกันใช้เวลาและใช้จ่ายเงินไปกับความบันเทิงด้วย เช่น การไปดูหนัง การเช่าหนังมาดูที่บ้าน หรือการดูทีวี และแน่นอนว่านักศึกษาจะได้เห็นบาร์ ไนต์คลับ และดิสโก้เธคจำนวนมากในเกือบทุกเมืองใหญ่ อขให้ระลึกไว้เสมอว่า ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นกฎหมายระบุว่าคนที่จะดื่มหรือซื้อ-ขายแอลกอฮอล์ได้โดยไม่ผิดกฎหมายจะต้องอายุ 21 ปีขึ้นไป และกฎข้อนี้เคร่งครัดมากหากนักศึกษาอายุไม่ถึง 21 ปีแต่ได้รับมอบหมายให้ไปทำงานอยู่ร้านอาหารที่มีบริการเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ นักศึกษาต้องแจ้งให้นายจ้างทราบว่าอายุยังไม่ถึง 21 ปีจึงไม่สามารถทำได้

 

ข้อควรรู้ในการใช้ชีวิตประจำวัน

                การเดินทางเข้ามาในประเทศสหรัฐอเมริกา นักศึกษาจะได้มีโอกาสมากมายในการค้นหาสิ่งแปลกใหม่ต่างๆจากการติดต่อพูดคุยกับคนอเมริกัน หรือการเดินทางท่องเที่ยวไปยังที่ต่างๆ นอกจากนี้ นักศึกษายังต้องมีเรื่องที่ต้องทำมากมายรอบตัว ซึ่งสามารถสรุปเป็นข้อควรรู้ได้ดังนี้

 

 เรื่องเกี่ยวกับเงิน

เงินตราของประเทศสหรัฐอเมริกา

                สกุลเงินของประเทศสหรัฐอเมริกาคือดอลล่าร์ ($) ซึ่ง 1ดอลล่าร์ประกอบไปด้วย 100 เซ็นต์ เงินตราในรูปแบบของเหรียญมีรายละเอียดดังนี้

เหรียญ               รูปภาพด้านหน้า         มูลค่า (เซ็นต์)                         มูลค่า (ดอลล่าร์)                     สี

Penny                 Lincoln                       1 cent                                      0.01 dollars                            ทองแดง

Nickel                Jefferson                     5 cent                                      0.05 dollars                            เงิน

Dime                  Roosevelt                    10 cents                                  0.10 dollars                           เงิน

Quarter              Washington                 25 cent                                    0.25 dollars                           เงิน         

Half                    Dollar Kennedy          50 cent                                     0.50 dollars                           เงิน

Dollar               Anthony                      100 cent                                  1.00 dollars                           เงิน

               

                สำหรับธนบัตร (Bill) ที่ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา จะเริ่มจาก US $ 1 ดอลล่าร์ ประกอบไปด้วย US $ 1, US $ 5, US $ 10, US $ 20, US $ 50, US $ 100 แต่บางครั้งอาจเจอธนบัตร  US $ 2 ก็ได้ รวมถึงธนบัตรฉบับละ US $ 20 แบบใหม่ที่เพิ่งออกมาใช้ได้เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี่เอง เพื่อป้องกันการปลอมแปลง (counterfeit) ดังนั้นนักศึกษาอาจเจอธนบัตร $20 ทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ คำแสลงสำหรับธนบัตร US $ 1 จะใช้คำว่า a Buck นั่นคือธนบัตร  US $ 20 ก็จะใช้ Twenty Bucks ข้อควรระวังคือธนบัตรของประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีขนาดเดียวกันและใช้สีเดียวกันหมด อย่างไรก็ดี ธนบัตรแต่ละใบจะมีใบหน้าของประธานาธิบดีสหรัฐฯในยุคบุกเบิก ดังตารางข้างล่างนี้

 หน่วยเงิน               รูปภาพด้านหน้า                     รูปภาพด้านหลัง

$1.00                       George Washington              Great Seal of the United States

$2.00                       Thomas Jefferson  Declaration of Independence

$5.00                       Abraham Lincoln Lincoln Memorial

$10.00                     Alexander                             US Treasury Building

$20.00                     Andrew Jackson   White House

$50.00                     Ulysses S.Grant                    US Capitol Building

$100.00                    Benjamin Franklin               Independence Hall

 

การเปิดบัญชีธนาคาร

                การเปิดบัญชีธนาคาร นับเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเมื่อเดินทางไปถึงประเทศสหรัฐอเมริกา ธนาคารโดยทั่วไปเปิดให้บริการในเวลา 9.00-15.00น. วันจันทร์ถึงวันศุกร์ และในวันศุกร์ธนาคารบางแห่งอาจเปิดให้บริการนานขึ้น 2-3 ชั่วโมง ในช่วงเย็น นอกจากนี้ยังมีธนาคารอีกหลายแห่งที่เปิดให้บริการในวันเสาร์ช่วง 9.00-12.00 น. ด้วยเช่นกัน ให้ระลึกเสมอว่าธนาคารก็คือธุรกิจเอกชนในรูปแบบหนึ่ง นั่นคือมีบริการ และค่าบริการที่แตกต่างกันไป ดังนั้นนักศึกษาควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับบริการที่มี และอัตราค่าบริการเสียก่อน นักศึกษาควรเปิดทั้งบัญชีออมทรัพย์ (Saving Account) และบัญชีเช็ค Checking (Current) Account ที่ธนาคารเดียวกันเนื่องจากจะสะดวกกว่าในการโอนเงินระหว่างบัญชี

 

Checking Account

                Checking Account มีประโยชน์มากในการใช้จ่ายบิลต่างๆ เช่น ค่าเช่า ค่าโทรศัพท์ ค่าไฟ ค่าน้ำ ฯลฯ เพราะบัญชีประเภทนี้จะมีเช็คซึ่งนักศึกษาสามารถเขียนเช็คสั่งจ่ายได้ และที่สำคัญคือคนอเมริกันส่วนใหญ่ไม่นิยมพกเงินสดจำนวนมากๆ ติดตัวแต่จะจ่ายด้วยเช็คและบัตรเครดิตเป็นหลัก

                การเปิดบัญชี Checking นั้นต้องฝากเงินเข้าบัญชีตอนที่ไปเปิดบัญชี นักศึกษาสามารถใช้เช็คเดินทาง เงินสด Bank Draftหรือจะโอนเงินจากธนาคารอื่นมาก็ได้ สิ่งสำคัญอีกอย่างที่ต้องมีเวลาไปเปิดบัญชีคือ Social Security Number เป็นข้อมูลที่ทางธนาคารจะใช้ในการหักภาษีจากดอกเบี้ยเงินฝาก แต่สำหรับนักศึกษาต่างชาติ แนะนำให้ขอฟอร์ม W-8 จากธนาคารมากรอกด้วย เพื่อที่จะได้ไม่ถูกหักภาษีในส่วนนี้

 

หลักฐานที่ใช้ในการเปิดบัญชีธนาคาร

1.หนังสือเดินทาง

2.ใบขับขี่ หรือ State ID

3.บัตร Social Security Number

4. (Optional) บัตรประจำตัวนักศึกษาหรือ I-20

5.(Optional)     บิลค่าโทรศัพท์หรือค่าสาธารณูปโภคอื่นๆที่เป็นชื่อของนักศึกษา ทั้งนี้เพื่อแสดงถึงที่อยู่ของนกศึกษา

                บัญชี Checkingนั้นส่วนใหญ่จะเสียค่าบริการรายเดือนประมาณ US $ 2-US $ 15 แล้วแต่ประเภทที่เลือก บางธนาคารอาจไม่ต้องเสียค่าบริการนี้ แต่ต้องรักษายอดเงินคงเหลืออย่างต่ำไว้จามที่ธนาคารกำหนด (ส่วนใหญ่ประมาณ US $ 1000)

                ในการเปิดบัญชี Checking ธนาคารส่วนใหญ่จะมี Overdrawn Protection ให้เลือกด้วย ซึ่งหมายถึงในกรณีที่มีจ่ายเช็คเกินจำนวนที่มีอยู่ในบัญชี เช็คก็จะกลายเป็นเช็คเด้ง (Bounced Check) พร้อมกับเสียค่าปรับประมาณ US $ 15-US $ 30 แต่ในกรณีที่เลือก Overdrawn Protection ไว้ด้วย ทางธนาคารก็จะสำรองจ่ายส่วนที่ขาดไปให้ก่อน และจะคิดดอกเบี้ยแบบระยะสั้นสำหรับยอดเงินจำนวนนั้นด้วย

                ธนาคารส่วนใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีบริการ Online Banking ผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งสะดวกมากในการเช็คยอดเงินคงเหลือ หรือรายการทางธนาคารที่ผ่านๆมาได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังสามารถจ่ายบิลต่างๆทางออนไลน์ได้ด้วย เพราะฉะนั้นควรตรวจสอบถึงบริการนี้ด้วยว่ามีหรือไม่เมื่อเปิดบัญชี

                เมื่อเปิดบัญชีเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถใช้จ่ายผ่านเช็คได้เลยเพราะทางธนาคารจะให้สมุดเช็คชั่วคราวมาด้วย และจะส่งสมุดเช็คตัวจริงและบัตร ATM มาทางไปรษณีย์ในอีกระยะเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ เมื่อสมุดเช็คหมด ก็ต้องสั่งสมุดเช็คใหม่ซึ่งสมารถสั่งกับธนาคารได้ และมั่นใจได้ว่าจะได้รับเช็คที่ที่ถูกต้องตามมาตรฐานแน่นอน นอกจากนี้ นักศึกษายังสามารถสั่งสมุดเช็คจากภายนอกได้เช่นกัน โดยต้องกรอกข้อมูลต่างๆ ที่อยู่บนเช็ค เช่น routing number, account number, starting number เป็นต้น

 
Debit Card และ    ATM – Automatic Teller Machine

                บัญชีแบบ Checking จะมีบัตร ATM ที่สามารถใช้เป็น Debit Card ได้ด้วย และส่วนใหญ่ตู้ ATM จะสามารถให้บริการ 24 ชั่วโมง ในประเทศที่สหรัฐอเมริกานั้นสามรถหาตู้ ATM ได้ง่ายมาก จำนวนเงินที่สามารถถอนได้ต่อวันก็ขึ้นอยู่กับบัญชีที่เลือก ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงประมาณ US $ 200-US $ 400

                เครือข่าย ATM ที่ใหญ่ๆ มีอยู่ 2 ค่าย คือ PLUS (1-800-843-7587) และ CIRRUS (1-800-4-CIRRUS) ซึ่งธนาคารในเมืองไทยส่วนใหญ่ก็เป็นเครือข่ายของ 2 ค่ายนี้อยู่ด้วย สำหรับนกศึกษา ก็ให้ตรวจดูที่ด้านหลังบัตร ATM ซึ่งจะมีตัวอักษรพิมพ์บอดเอาไว้ว่าอยู่ในค่ายใด ถ้านำ ATM ไปใช้เครื่องของต่างธนาคาร หรือเครือข่ายก็อาจถูกเรียกเก็บค่าบริการได้ ประมาณ US $ 1.5-US $ 3 ดังนั้น นักศึกษาควรตรวจสอบกับธนาคารว่าบัตรที่ได้สามารถใช้กับเครื่องใดได้บ้างโดยไม่เสียค่าบริการเพิ่มเติม

                การใช้บัตร ATM เป็น Debit Card จะเหมือนกับการใช้บัตรเครดิตทั่วไป ต่างกันแต่ที่ว่าเมื่อมีการรูดบัตรเพื่อชำระค่าบริการหรือสินค้า เงินจะถูกตัดออกจากบัญชี Checkingในทันที่

                ทางธนาคารจะจัดส่ง Statement มาให้นักศึกษาทุกเดือนทางไปรษณีย์ ซึ่งจะมีรายละเอียดรายการทางธนาคารทุกรายการ เทียบกับเอกสารหรือต้นขั้วเช็คที่เก็บไว้ด้วยทุกครั้ง

 

Saving Account และ Certificates of Deposit

บัญชี Saving นั้นจะแตกต่างจากบัญชี checking ตรงที่นักศึกษาได้ดอกเบี้ยมากกว่า ธนาคารส่วนใหญ่จะสนับสนุนให้ลูกค้าเปิดทั้ง Checking Account และ Saving Account พร้อมกัน ซึ่งมีข้อดีก็คือ สามารถใช้บัตร ATM ใบเดียว และ Online Banking ได้ทั้ง 2 บัญชี ถ้านักศึกษานำเงินติดตัวมาด้วยจำนวนมาก ก็ควรเปิดทั้งบัญชี Saving และ Checking พร้อมกันเลยเพื่อความสะดวกในการจัดการเงิน โดยทั่วไปจะสามารถโอนเงินระหว่าง Saving และ Checking Account ทางอินเทอร์เน็ตได้และไม่เสียค่าบริการ บัญชีแบบ Certificates of Deposit จะได้ดอกเบี้ยมากกว่า Saving และ Checking Account เพียงแต่นักศึกษาจะไม่สามรถถอนเงินออกมาได้ก่อนถึงเวลาที่กำหนด

 
บัตรเครดิต

                ประเทศสหรัฐอเมริกามีการใช้บัตรเครดิตกันอย่างแพร่หลาย องค์กรที่สามรถออกบัตรเครดิตได้ รวมถึงธนาคาร บริษัทบัตรเครดิต บริษัทน้ำมัน ห้างสรรพสินค้า และหน่วยงานอื่นๆอีกมากมาย แต่สำหรับนักศึกษาต่างชาติแล้ว การขอทำบัตรเครดิตอาจไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากต้องใช้เอกสารทางด้านการเงินประกอบค่อนข้างมาก

 

การให้ทิป

                 ในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนใหญ่แล้วทิปจะไม่ได้เป็นรายการที่รวมไว้ในใบเสร็จโดยอัตโนมัติ อันที่จริงแล้วเรื่องของทิปนับได้ว่าเป็นเรื่องของความพอใจส่วนตัว อย่างไรก็ดี ผู้ที่ให้บริการก็คาดหวังในรายได้ส่วนนี้เป็นส่วนใหญ่ โดยทั่วไปผู้ที่ทำงานในรูปแบบที่ได้รับทิป จะได้รับค่าแรงงานที่ต่ำกว่างานในรูปแบบที่ไม่ได้รับทิป ค่าเฉลี่ยของทิปอยู่ที่ประมาณ 15% แต่ก็มีขึ้นลงตามคุณภาพของการบริการด้วยเช่นกัน โดยสามารถสรุปคร่าวๆได้ดังนี้

การทานอาหารข้างนอก : ทิปสำหรับร้านอาหาร/ภัตตาคารที่ให้บริการดี จะอยู่ในช่วง 15-20% ถ้านั่งทานที่เคาเตอร์ในร้านทิปจะน้อยลง หรือประมาณ 10-15% สำหรับร้านอาหารแบบ Fast Food ที่จ่ายเงินตอนสั่งอาหาร หรือโรงอาหาร/ร้านอาหารแบบช่วยตนเอง ซึ่งจ่ายเงินที่แคชเชียร์เมื่อเลือกอาหารแล้ว ส่วนใหญ่จะไม่มีทิป

 

คนขับรถแท็กซี่ : ควรให้ทิป 10-15% ของค่าโครงการทั้งหมด

 

เจ้าหน้าที่ขนของที่สนามบิน/โรงแรม : ควรให้ US $ 1 ต่อกระเป๋า 1 ใบ

 

ช่างตัดผม ช่างเสริมสวย : ทิป 10-15 % ของค่าบริการทั้งหมด

 

บริการจอดรถ : พนักงานควรได้ทิป US $ 1- US $ 2

                ควรระลึกไว้เสมอว่าห้ามให้ทิปเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือตำรวจ เนื่องจากเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ไม่จำเป็นต้องให้ทิปกับพนักงานประจำโต๊ะของโรงแรม หรือ คนขับรถโดยสารประจำทางหรือพนักงานในโรงภาพยนตร์ พนักงานสายการบิน พนักงานสถานีน้ำมันต่างๆ

 

การติดต่อสื่อสาร

 

โทรศัพท์

                บริการเกี่ยวกับโทรศัพท์ในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเรื่องที่สะดวกสบายมาก โทรศัพท์สาธารณะมีอยู่ทั่วไป ทั้งแบบหยอดเหรียญและใช้บัตร บางเครื่องยังสามารถใช้บัตรเครดิตโทรได้เช่นกัน สำหรับนักศึกษาที่ต้องอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเวลานาน เพื่อความสะดวกสบาย นักศึกษาต่างชาติส่วนใหญ่จะขอเบอร์โทรศัพท์ส่วนตัว สำหรับหอพักส่วนใหญ่ ก็จะมีโทรศัพท์ประจำในแต่ละชั้นเป็นอย่างน้อย โดยบางหอพักอาจมีการเดินสายโทรศัพท์ไว้แล้ว หากนักศึกษาต้องการโทรศัพท์ก็เพียงแต่ทำเรื่องขอเบอร์เท่านั้น กล่าวได้ว่าบริการเกี่ยวกับโทรศัพท์ถือเป็นบริการขั้นพื้นฐานที่รัฐบาลต้องจัดให้มีเพียงพอสำหรับประชาชน

                สมุดรายชื่อโทรศัพท์มีอยู่ 3 ประเภทคือ สมุดโทรศัพท์ White Pages มีรายละเอียดของรายชื่อ ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ทั้งรายบุคคลและธุรกิจต่างๆ ประเภทที่ 2 คือ สมุดหน้าเหลือง หรือ Yellow Pages แสดงรายละเอียดขององค์กร บริษัทและบริการต่างๆเรียงตามตัวอักษร ส่วนประเภทสุดท้าย คือสมุดโทรศัพท์ Blue Pages จะมีเฉพาะเมืองขนาดใหญ่มีรายละเอียดเกี่ยวกับเบอร์โทรศัพท์สำหรับเมือง Country รัฐ และหน่วยงานรัฐบาลของประเทศ

                หมายเลขโทรศัพท์ในประเทศสหรัฐฯจะมี 10 หลัก ซึ่ง 7 ตัวเลขหลังจะเป็นหมายเลขโทรศัพท์หลัก ส่วน 3 ตัวแรกจะเป็นหมายเลขพื้นที่ Area Code ในกรณีที่ต้องการหมุนโทรศัพท์ไปยังหมายเลขที่มี Area -Code ต่างกันเท่านั้น

                ในกรณีที่ต้องการทราบเบอร์ แต่หาไม่ได้จากสมุดโทรศัพท์ใดๆ ท่านสามารถโทรไปที่ “Directory assistance” โดยการโทรศัพท์ด้วยเบอร์ที่ใส่ไว้ที่ส่วนแรกของสมุดโทรศัพท์ของแต่ละรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเบอร์ 411” ถ้าเบอร์ที่ต้องการจัดอยู่ในกลุ่ม “unlisted” เจ้าหน้าที่จะไม่แจ้งให้ทราบ ส่วนใหญ่แล้วโทรศัพท์จะจำกัดจำนวนการอนุญาตให้ลูกค้าสามารถใช้บริการช่วยเหลือแบบไม่คิดค่าใช้จ่าย ซึ่งถ้ามีการใช้บริการเกินกำหนด จะมีการเก็บค่าบริการหลังจากที่ท่านได้เบอร์โทรศัพท์แล้ว

 

หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน

                ส่วนใหญ่แล้วหมายเลขฉุกเฉิน หรือดับเพลิงหรือฉุกเฉินอื่นใด คือเบอร์ 911 โดยจะมีเจ้าหน้าที่ถามถึงเหตุต้องการแจ้ง สอบถามที่อยู่ เพื่อจะได้เรียกเจ้าหน้าที่ไปช่วยเหลือทันทีตามความเหมาะสมซึ่งส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่จะถือสายรอและให้คำแนะนำจนกว่าเจ้าหน้าที่ฉุกเฉินจะไปถึง ควรใช้แค่ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้นและไม่ควรโทรเล่นเพราะเป็นการผิดกฎหมายและการโทร0 สำหรับกรณีฉุกเฉินอาจไม่สะดวกนัก เพราะเจ้าหน้าที่ส่วนกลางที่กำลังให้บริการอาจอยู่ห่างจากท่านมากควรโทร 911 ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่นนั้นๆให้บริการและสามารถให้ความช่วยเหลือได้เร็วที่สุด
<< ย้อนกลับ
Address 7 Soi Ramkhamhaeng 60 Yak 9 Ramkhamhaeng Rd., Huamark, Bangkapi Bangkok 10240
Tel 02-374-1300 ต่อ 210 , 220
สายด่วน 086-321-1212
Fax 02-374-2600
Email education@worantex.com , info@worentex.com
Line@ @aypthailand
Line ID weducation
Facebook facebook.com/aypthailand
Website www.Worantex.Com
DOT No.11/05836 Thai Traval Agents Association(TTAA) No.929 Thai International Education Consultants Association
Visa MasterCard
forum   ,   Instagram Worantex   ,   ไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนอเมริกากับ Worantex   ,   ไปทัวร์ยุโรปกับ Worantex   ,   ไปทัวร์อเมริกากับ Worantex   ,   ไปทัวร์เกาหลีกับ Worantex   ,   ไปทัวร์สิงคโปร์กับ Worantex   ,   ไปซัมเมอร์แคมป์ทัวร์กับ Worantex   ,   ไปทัวร์พม่ากับ Worantex   ,   ไปทัวร์ลาวกับ Worantex   ,   ไปล่องเรือสำราญกับ Worantex
Home   |  About Us   |  News & Activities   |  Promotions   |  Scholarship   |  How to pay   |  Hot Topic   |  New Experience   |  Partner   |  Gallery   |  Announcement   |  Links   |  Contact Us
Terms and Condition   |  Privacy Policy  |  Site Map
  
eXTReMe Tracker
Copyright © 2007-2024 Worantex Education and Travel Co., Ltd. All rights reserved.